ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
อาจาร์ผู้สอนวิชาเทคโนโลยีค่ะ .............................. . ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ................... มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, อ.จอมบึง จ.ราชบุรี . .............. ...ป.กศ.สูง วิชาเอกดนตรีศึกษา จาก วค.บ้านสมเด็จพระยา .................. ....ปริญญาตรี กศ.บ.(เกียรตินิยม)มศว.ประสานมิตร .................ปริญญาโท ค.ม.(โสตทัศนศึกษา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. .นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มเทคโนโลยีทางการศึกษา)มหาวิทยาลัยศิลปากร

สู้ๆๆ

สู้ๆๆ

บทที่ 1 ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน


....ความหมายของสื่อการสอนความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น
- วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ
- ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ
- วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน
- คำพูดท่าทาง
- วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร
- กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านด้วยกัน ดังนั้นผมจึงสรุปดังนี้จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทวัสดุ
( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ
(Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
(Technique or Method)
หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

.....คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน.....
....1.คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่าง


....2.คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียนคือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2. ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5. ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ

8. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม


......สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
...สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.....หลักการใช้สื่อการสอน
1. การวางแผน (Planning) การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน
2. การเตรียมการ (Preparation)
เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
3. ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุปในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
3. ช่วงสรุปบทเรียน
4. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
5. การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ
4. การติดตามผล
(Follow - up) ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง

น่ารักจัง

น่ารักจัง

บทที่ 2 จิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการ

............การรับรู้ เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึกจิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด

.......จิตวิทยาการเรียนรู้.....
...การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น


......พฤติกรรมการเรียนรู้.....
...จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงาน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
...ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก


....จิตวิทยาพัฒนาการ.....
...เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย

บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร

....การสื่อสาร....
... หมายถึง กระบวนการติดต่อส่งข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความเห็นตลอดจนท่าทีความรู้สึกต่างๆระหว่างบุคคล เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยา ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

....องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร....
1. ผู้ส่ง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระ ซึ่งอาจเป็นองค์กร บุคคลที่มีจุดมุ่งหมายจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ
2. เนื้อหาสาระ เจตคติ ทักษะประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผ่านสื่อไปยังผู้รับ
3. สื่อหรือช่องทาง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และผิวกาย โดยอาศัยสื่อที่เหมาะสมกับช่องทาง เช่น รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
4. ผู้รับ บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง


....หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร....
1.การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2. .การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
3. .การสื่อสารส่วนบุคคล
4. .การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
5. .การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ


....รูปแบบของการสื่อสาร....
1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร
1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด ได้แก่ การพูด อธิบาย บรรยาย การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เช่น กริยาท่าทาง การยิ้ม ภาษามือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ เช่นโปสเตอร์ จดหมาย ลูกศร ตรา รูปภาพ เครื่องหมาย
2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
2.1 การสื่อสารทางตรง ผู้ส่งและผู้รับสื่อสารซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา เช่น การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าในตลาดสด
2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ เช่น การโฆษณาทางโปสเตอร์
3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งกระทำฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันทีได้ เช่น การจัดรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
3.2 การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับมีการตอบโต้กันโดยอาจอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือถ้าห่างกันจะใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยได้ เช่นโทรศัพท์ วิทยุมือถือ
4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร
4.1 การสื่อสารในตนเอง เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่น การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างสองคน เช่นการสนทนา การสัมภาษณ์
4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล เป็นการสื่อสารที่มีจำนวนผู้ส่งผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตำรวจช่วยกันสอบสวนผู้ต้องหา
4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารเป็นกลุ่ม จำนวนมากมหาศาล ต้องใช้สื่อที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างกว้างไกล เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โปสเตอร์

....อุปสรรคในการสื่อสาร....
1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส ทำให้การสื่อสารผิดพลาด
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารลดลง
3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญในเนื้อหาสาระ
4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน- สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงที่ดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์- สิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีอคติทั้งผู้ส่งและผู้รับ
5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสมหรือสั้นเกินไป เนื้อหาขัดกับความเชื่อเดิม
6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดจากการสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาสาระต้องเหมาะสมกับผู้รับการสื่อสารกับการรับรู้และเรียนรู้การรับรู้ เป็นกระบวนการตีความหรือแปลความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จากนั้นส่งไปยังสมอง สมองเป็นคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เมื่อสมองตีความได้ก็จะนำข้อมูลไปเก็บในคลังสมอง ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร เรียกว่า การเรียนรู้

....แบบจำลองของการสื่อสาร....
1. แบบจำลองของลาสเวลล์ใครพูดอะไรโดยช่องทางใดไปยังใครได้ผลอย่างไร
2. แบบจำลองของแชนนอนและวีเวอร์ข้อมูลข่าวสาร สัญญาณ สัญญาณที่ได้รับ ข้อมูลข่าวสารแหล่งข้อมูลตัวถ่ายทอดช่องทางผู้รับจุดหมายปลายทางสิ่งรบกวน
3. แบบจำลองของเบอร์โลเนื้อหาสาระผู้ส่ง/แหล่งกำเนิด เข้ารหัส ถอดรหัสสื่อ/ช่องทางผู้รับการมองเห็นการได้ยินการสัมผัสการดมกลิ่นการชิมรสทักษะเจตคติความรู้สังคม/วัฒนธรรมองค์ประกอบ โครงสร้างวิธีควบคุมเนื้อหา รหัสทักษะเจตคติความรู้สังคม/วัฒนธรรม
4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์
4.1 แบบจำลองภายในบุคคล สื่อสารกับตัวเอง ประกอบด้วยบุคคล ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้านอกตน ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้าในตน การใส่รหัสและการถอดรหัสสิ่งเร้านอกตน และสิ่งเร้าในตน อาจมีผลทางบวกและทางลบหรือกลางๆ ต่อบุคคลที่สื่อสารภายในตน
4.2 แบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแบบจำลองที่บุคคลสื่อสารระหว่างกัน มีองค์ประกอบเหมือนกับการสื่อสารภายในตน แต่มีบุคคลที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้อง

....การสื่อสารในการเรียนการสอน....
1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอนครูเนื้อหาบทเรียนช่องทางผู้รับสิ่งรบกวน
2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนเป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดความรู้ คือ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน อาจเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทิศทางก็ได้ ควรมีการเน้นหรือทบทวนคำสั่งหรือข้อตกลง เพื่อให้เกิดความจำและความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อสารควรมีลักษณะสร้างแรงบันดาลใจ เป็นกันเอง แสดงถึงความเอื้ออาทร และมีเจตคติที่ดีต่อกัน
3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพครูที่มีการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย มีชีวิตชีวา มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและบทเรียน เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจครูผู้สอนควรใช้สื่อการสอนสองทางให้มากที่สุด เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลอย่างไร ครูและผู้เรียนสามารถปรับกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
- ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนนั้นๆ

- ครูไม่คำนึงถึงข้อจำกัดหรือขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงใช้วิธีสอนแบบเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ไม่ทันเพื่อน

- ครูไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายสำหรับผู้เรียน ไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน

-ไม่หาวิธีป้องกันและขจัดปัญหาสิ่งรบกวนต่างๆ-ครูบางคนอาจใช้ภาษาไม่เหมาะกับระดับหรือวัยของผู้เรียน
เขียนโดย จ๋า ที่ 1:33 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

สวยเนาะ

สวยเนาะ

บทที่ 4 การสื่อความหมาย

...........การสื่อความหมาย คือ การถ่ายโยงความคิดหรือความรู้สึกให้เห็นพ้องต้องกันของบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การพูดคุย กริยา ท่าทาง การแสดงสีหน้า ภาษาเขียน ภาษาภาพ

...........องค์ประกอบของการสื่อความหมาย
1. ผู้ส่ง อาจเป็นเพียง 1 คน หรือกลุ่มคนก็ได้ ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องราวข่าวสาร เพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการเข้ารหัสเพื่อให้ผู้รับเข้าใจ
2. สาร เนื้อหาของสารหรือสาระของเรื่องราวที่ส่งออกมา
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร ได้แก่ ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเหตุการณ์ บทเรียน ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดอาจเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามือ และภาษากายก็ได้
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้รับข่าวสารเรื่องราวต่างๆจากผู้ส่ง
5. ผล ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารของผู้รับ ซึ่งผู้รับจะเข้าใจข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในสถานการณ์และทัศนคติของผู้รับในขณะนั้น
6. ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ การแสดงกิริยาตอบสนองของผู้รับต่อข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งรับรู้


...การสื่อความหมาย จำแนกเป็น 3 ลักษณะ...
1. วิธีการของการสื่อความหมายวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาพูดอวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือการเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภาพ
2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. ประเภทของการสื่อความหมายการสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือการสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSNการสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรมการสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)


บทที่ 5 การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์

.....การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
.......คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาสาระ

...องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป


...รูปแบบต่างๆของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เพื่อการสอน สอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน
2. ประเภทแบบฝึกหัด เพื่อฝึกความแม่นยำ
3. ประเภทสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง
4. ประเภทเกมการสอน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
5. ประเภทการค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆจนสามารถสรุปได้ด้วยตนเอง
6. ประเภทแก้ปัญหา ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ
7. ประเภทเพื่อการทดสอบ ใช้ประเมินการสอนของครู


...ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สร้างแรงจูงใจในการเรียน ดึงดูดความสนใจ
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
4. สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเรียนการสอน


สวยจังว่ะ...วิว

สวยจังว่ะ...วิว

บทที่ 6 สื่อการสอนประเภทวัสดุอุปกรณ์

....เครื่องฉาย....
...เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น กระตุ้นความสนใจได้ดี

....ส่วนประกอบของเครื่องฉาย....
1.หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ให้ภาพไปปรากฏบนจอ
2.แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอกฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่า
3.วัสดุฉาย เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ วัสดุฉายต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นได้ชัดเจน
4.เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกใส มีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบกับเลนส์ ทำให้ภาพถูกขยายเลนส์
5.จอ เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆ


....ประเภทของเครื่องฉาย....
1.เครื่องฉายข้ามศีรษะ
-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบทั่วๆไป
-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบสะท้อนจากกระจกเงาด้านล่าง
-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบพับเก็บได้
2.เครื่องฉายสไลด์
-เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา ควบคุมโดยผู้ใช้งานตลอกเวลา
-เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ
3.เครื่องฉายแอลซีดี มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย
4.เครื่องดีแอลพี มีความคมชดสูงกว่าแอลซีดีเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงสัณญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัณญาณและเสียง


....ประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณ....
1.เครื่องวิชวลเลเซอร์ ฉายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
2.เครื่องเล่นวีดีทัศน์ แปลงสัณญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัณญาณภาพและเสียง
3.เครื่องเล่นวีซีดี
4.เครื่องเล่นดีวีดี


....เครื่องเสียง....
1.แหล่งกำเนิดเสียงเสียง sound
...เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหู จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนราบงานผ่านไปยังสมองทำให้ได้ยินเสียงแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุเมื่อถูกดีด สี ตี เป่า เคาะ เสียงจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำไหล ฟ้าร้อง ลมพัด


2.ส่วนประกอบของการขยายเสียง
...ภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟนภาคขยายเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียงภาคสัญญาณออก เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง


3.ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

4.เครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา

5.ลำโพง

ใครเอ่ย

ใครเอ่ย